Hamutaro - Hamtaro 3

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพนธ์ 2559

เนื้อหาในการเรียนวันนี้
เป็นการนำเสนอทฤษฏี 4 กลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มที่ 1 ทฤษฏีพัฒนาการด้านร่างกาย
กลุ่มที่ 2 ทฤษฏีพัฒนาการด้านสังคม

กลุ่มที่ 3 ทฤษฏีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์


กลุ่มที่ 4 ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญา
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์คอยให้คะแนนและติชมอยู่ด้านหลัง

วัน พฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพนธ์ 2559

ภาพกิจกรรม


อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทำท่าตามเพลงคนละท่าให้เข้ากับจังหวะ



ทำท่าตามจังหวะ 10 ท่าต่อกลุ่ม นี่คือกลุ่มที่ 1 (ท่าพริ้วสวยงาม)


 ทำท่าตามจังหวะ 10 ท่าต่อกลุ่ม นี่คือกลุ่มที่ 2 (ท่าอลังการก็มา)


ทำท่าตามจังหวะ 10 ท่าต่อกลุ่ม นี่คือกลุ่มที่ 3 (ท่าสวยงามมากเลิศสุดๆ กลุ่มข้าพเจ้าเอง)


ทำท่าตามจังหวะ 10 ท่าต่อกลุ่ม นี่คือกลุ่มที่ 4 (ท่าสวยไม่มีสะดุด)

อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกสอน โดยแต่ละคนคิดกิจกรรมเคลื่อนไหวคนละ 3 ท่า
เป็นครูต้องพูดไปด้วยยิ้มไปด้วย

ความรู้ที่ได้รับ
-ทฤษฏีด้านร่างกาย เช่น
                 ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์ (Maturation Theory )
                 หลักพัฒนาการตามแนวคิด
        อาร์โนลด์ เกเซลล์ (Arnold Gesell 1880-1961) ใช้คำ ว่าวุฒิภาวะ (maturation) เพื่อหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (pattern) และรูปร่าง (shape) ของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากยีนส์ (genes) หรือความพร้อมของกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะปรากฏเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้าทางพันธุกรรม ทักษะและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันของเด็กแต่ละคนจะปรากฏในเวลาไล่เลี่ยกัน เกเซลล์ ใช้คำ ว่าวงจรของพฤติกรรม (cycles of behavior)เกเซลล์ และคณะ ศึกษาพัฒนาการของทารก เด็ก และวัยรุ่นอายุ แรกเกิด-16 ปี โดยการสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเองจากภาพยนตร์ และการสัมภาษณ์บิดามารดา และจัดกลุ่มข้อมูลสำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานของบุคลิกภาพ (Personality profile) ได้ 10 ด้าน คือ
1. ลักษณะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก 
2. สุขนิสัยส่วนบุคคล 
3. การแสดงออกของอารมณ์  
4. ความกลัว ความฝัน
5. ความเป็นตัวของตัวเอง การแสดงออกทางเพศ
6. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7. การเล่นและการใช้เวลาว่าง
8. การเรียน
9.จริยธรรม
10. ปรัชญาชีวิต

-ทฤษฏีด้านสังคม เช่น
                 อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) 
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) 
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) 
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) 
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confusion) 
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) 
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) 
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) 

-ทฤษฏีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์
                ทฤษฎีอูต้า (AUTA) ทฤษฎีนี้เป็นรูปแบบของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยมีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิกสร้างสรรค์ตามรูปแบบอูต้าประกอบด้วย
              4.1 การตระหนัก (Awareness) คือ ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง สังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตนเองด้วย
              4.2 ความเข้าใจ (Understanding) คือ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
              4.3 เทคนิควิธี (Techniques) คือ การรู้เทคนิคในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคล และเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
              4.4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ (Actualization) คือ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง และพยายามใช้ตนเองและพยายามใช้ตนเองเต็มศักยภาพ รวมทั้งการเปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม การตระหนักถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การผลิตผลงานด้วยตนเอง และมีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต

-ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญา เช่น
            ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
             ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ 
          ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน 
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ 
         ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ  มี 6 ขั้น ได้แก่ 
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่ 
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

       ทฤษฎีทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ที่ใช้ในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เราสามารถนำมาจัดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวให้กับเด็กได้ถูกต้องตามพัฒนาการแต่ล่ะช่วงวัย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา 
-เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด 
-เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
-เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
-เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
-ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง 
-ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน มีความพร้อม และเข้าใจในเนื้อหา และเข้าใจในทฤษฎีที่กลุ่มตัวเองและเพื่อนๆได้นำเสนอไป

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และนำเสนองานของกลุ่มตัวเองได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์คอยฟังนักศึกษาและให้คำแนะนำอยู่ข้าง และคอยให้คะแนน พร้อมสรุปทฤษฏีด้านต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจอย่างง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น